ทุกวันนี้คุณเสียภาษีรึเปล่า?
ถ้าเงินได้คุณเกิน เดือนละ 20,000 บาท ยังไงก็ต้องเสียอยู่แล้วละครับ แต่คุณไม่ได้เดินโทงๆ ไปเสียเอง เนื่องจากเราทำงานให้บริษัท หรือหน่วยงาน โดยฝ่ายบัญชีเค้าได้ทำการ หักเงิน จากเงินเดือนเราส่วนหนึ่ง เพื่อกันไว้สำหรับเสียภาษี เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมาปวดหัวตอนที่ต้องเสียภาษีตอนปลายปี ซึ่งถ้าเราอ่านในใบรับเงินเดือนเค้าจะเขียนว่า ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย นั่นเอง .... แต่ถ้าที่ทำงานคุณเค้าไม่ได้หักให้ แล้วคุณไม่ได้ไปยื่นเสียภาษี อันนี้ต้องระวังโดนภาษีย้อนหลัง เรียกว่าเจ็บไม่ธรรมดาเลยทีเดียว คนรู้จักผมเคยโดนมาแล้วพร้อมดอกเบี้ยด้วยนะ
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเรื่องฐานภาษีกันก่อน
ตามประกาศล่าสุด ผู้ที่มีเงินได้เกิน 20,000 บาทต่อเดือน หรือเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี (หลังจากหัก นู่นนี่นั่นแล้ว) ต้องเสียภาษีในอัตราส่วน 5 % นั่นคือเต็มที่ไม่เกิน 7,500 บาท อาจจะดูไม่เยอะมาก ... แต่ปัญหาคือถ้าเรามีรายได้ต่อเดือนเพิ่มขึ้น อัตราภาษีที่ต้องเสียงภาษีมันดันขยับขึ้นด้วยนี่สิ เอาง่ายๆ ถ้ารายได้สุทธิของคุณคือ 1,000,000 บาท ต้องเสียที่อัตรา 20% ซึ่งก็คือเต็มที่ไม่เกิน 115,000 บาท .. เฮ้ย เยอะเอาเรื่องอยู่นะ โหหาเงินแทบตาย หายไปกับภาษีซะเยอะเลยเราสามารถประมาณฐานภาษีคร่าวๆ ได้ตามนี้
- เงินเดือน 20,000+ เสียฐาน 5%
- เงินเดือน 32,501+ เสียฐาน 10%
- เงินเดือน 49,161+ เสียฐาน 15%
- เงินเดือน 70,001+ เสียฐาน 20%
- เงินเดือน 90,835+ เสียฐาน 25%
- เงินเดือน 174,168+ เสียฐาน 30%
- เงินเดือน 340,835+ เสียฐาน 35%
**เป็นการประมาณการโดยคราวๆ เพื่อให้เห็นภาพ**
ยิ่งรายได้สุทธิเหลือน้อย ยิ่งจ่ายภาษีน้อย?
ใช่ครับ โดยวิธีการคำนวณคือเราจะนำรายได้ทั้งหมด มาหักค่าใช้จ่ายที่สรรพากรอนุญาตให้หัก ส่วนที่เหลือจากการหักทั้งหมดก็คือ รายได้สุทธินั่นเอง ดังนั้นง่ายๆ ถ้ายิ่งหักออกได้เยอะ รายรับสุทธิก็จะลด ยิ่งลดลงเยอะๆ ฐานภาษีก็จะต่ำ ยิ่งถ้าลดต่ำกว่า 150,000 ก็ไม่ต้องจ่ายภาษีเลยทีเดียว
แล้วเมื่อไหร่ถึงจะไม่คุ้ม?
อย่างที่เห็นครับ ถ้าฐานภาษีที่คุณต้องเสียอยู่ที่ 5% แล้วต้องเสียภาษีที่ 5,000 บาท ดังนั้นหากต้องการขอคืนเงิน 5,000 บาท จากสรรพภากร เราต้องซื้อประกันที่ 100,000 บาท เพื่อให้ได้การหักตามสูตร คือ (100,000 x 5% = 5,000) การลดหย่อนด้วยวิธีการซื้อประกันชีวิต อาจจะให้ผลไม่เต็มประสิทธิภาพ และอาจดูเหนื่อยในการจ่ายเบี้ยประกัน เพราะถ้าเอาให้เต็มวงเงินที่ยอมให้ลดหย่อนอาจต้องแบ่งเก็บเงินไว้เดือนละประมาณ 9,000 ในการออมกับประกัน (9,000 x 12 = 108,000) เข้าขั้นกินแกลบกันเลยทีเดียว อาจเปลี่ยนเป็นการทำประกันเพื่อลดหย่อนแต่พองาม เน้นที่ความคุ้มครอง และประกันความเสี่ยงแทน ^_^
แล้วเค้าให้หักอะไรได้บ้างละ ...เริ่มมีความหวัง?
สิ่งที่หักได้คือ จากเงินได้ทุกประเภท -> หัก -> เงินได้ที่ได้รับการยกเว้น -> หัก -> ค่าใช้จ่าย -> หัก -> ค่าลดหย่อน -> หัก -> เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา -> หัก -> เงินบริจาค -> คงเหลือ -> ถึงจะเป็นรายได้สุทธิ** ค่าลดหย่อนประกอบด้วย กองทุน LTF, RMF และประกันชีวิต
การทำประกันเพื่อลดหย่อนภาษี เป็นการเลี่ยงภาษีหรือไม่?
คำตอบคือไม่ครับ เพราะเป็นการใช้สิทธลดหย่อนตามกฏหมาย โดยถ้าเราศึกษาให้ดี จะพบว่าสามารถลดหย่อนได้เกือบเท่ากับอัตราที่เสียภาษี ของเงินภาษีที่ต้องจ่ายเลยทีเดียว เช่นของก่อนหน้านี้ ถ้าคุณต้องเสียภาษีที่ 115,000 ถ้าทำประกันจ่ายเบี้ยที่ 100,000 บาทต่อปี (เต็มจำนวนที่สรรพากรอนุญาต) คุณสามารถประหยัดเงินที่ต้องจ่ายหรือขอคืนได้ถึง 20% ของ 115,000 นั่นคือ 23,000 บาท นี่ยังไม่รวมถึงความคุ้มครองของกรมธรรม์ ที่คุณจะได้รับอีกนะยังไงก็คุ้มสรุป
ว่ากันมาซะยาว วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ หากท่านใดที่คิดว่าฐานภาษีอยู่ในช่วงเกิน 15% แล้วเริ่มอยากเปลี่ยนภาษี จากรายจ่าย ให้กลายเป็นรายได้ (ขอคืนภาษี) ลองโทรมาปรึกษากันได้ครับ เรามีตัวแทนมืออาชีพที่จะช่วยคุณวางแผนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพติดต่อตัวแทนมืออาชีพ: 085-802-2699 คุณโรส
Line ID: 0858022699
"ไม่มีอะไรจะทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นได้ นอกจากการวางแผนด้านการเงินและการใช้ชีวิต"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น